วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความรุ่งเรืองของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาถูกกลืนโดยศาสนาฮินดู



จะขอวกกลับไปพูดถึงอินเดียอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าพระจักรพรรดิหรรษะจะมีความใจกว้างให้ความเสมอภาคต่อทุกศาสนาแต่บรรดาเสนาบดีของพระองค์ที่นับถือศาสนาฮินดูมีความไม่พอใจที่พระองค์ให้การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา พวกเสนาบดีเหล่านี้ได้พยายามลอบปลงพระชนม์ของพระองค์อยู่หลายครั้ง  แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในความพยายามในครั้งแรกและได้รับการอภัยโทษจากการถูกประหารชีวิต แต่พวกเขาก็ได้ด้ำเนินความพยายามอยู่ต่อไปจนกระทั่งพระจักรพรรดิหรรษะลูกลอบปลงชนมชีพได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 1191


หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิหรรษะแล้ว อินเดียทางภาคเหนือก็แตกสลายแบ่งแยกเป็นรัฐขนาดใหญ่หลายรัฐ ต่อแต่นั้นมาเงื่อนไขต่างๆไม่เอื้ออำนวยให้มีการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาจวบจนกระทั่งราชวงศ์ปาละได้รับการก่อตั้งขึ้นในเบงกอลในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 14  ในช่วงระหว่างสี่ศตวรรษของการปกครองของราชวงศ์นี้ (คือจาก พ.ศ. 1303-1685) บรรดากษัตริย์ราชวงศ์ปาละต่างได้ทุ่มเทให้การสนับสนุนและให้ความคุ้มครองพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี  พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ได้นำมหาวิทยาลัยนาลันทาให้มาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยอื่นอีก 4 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยโอทันตปุระ  มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา  มหาวิทยาลัยโสมปุระ และมหาวิทยาลัยชคัททละ  โดยได้ก่อสร้างสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ตามลำดับ


อย่างไรก็ดี ในอินเดียทางภาคอื่นๆนั้น ศาสนาฮินดูในช่วงเดียวกันนี้ก็ยังมั่นคงแข็งแรงในขณะที่พระพุทธศาสนาเริ่มคลอนแคลน มีหลายสาเหตุด้วยกันที่ทำให้เกิดความเสื่อมคลายของพระพุทธศาสนา ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์กษัตริย์ฮินดูบางพระองค์ ชาวพุทธได้ถูกเข่นฆ่า ในขณะที่พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองฮินดูบางองค์ได้ให้การสนับสนุนสถาบันพระพุทธศาสนาโดยให้เป็นเพียงศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และวัฒนธรรมเท่านั้น นับตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโศกเป็นต้นมา พระสงฆ์ได้กลายเป็นผู้มีฐานะมั่งคั่งโดยการอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์และโดยการสนับสนุนของประชาชนผู้มั่งคั่ง ชีวิตในวัดมีความสะดวกสบายและเป็นอยู่แบบง่ายๆ จึงเป็นที่ดึงดูดให้สมาชิกใหม่จำนวนหนึ่งเข้ามาบวชเป็นพระสงฆ์เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับเลี้ยงชีวิตและบางท่านเมื่อเข้ามาบวชแล้วก็ได้นำวิธีคิดแบบเก่าของตนติดตัวมาด้วยและก็ได้สอนทฤษฎีที่ผิดๆของพวกตนนั้นเสียอีกด้วย เมื่อบุคคลที่ไม่ดีเหล่านี้ไม่สามารถถูกกำจัดออกไปจากคณะสงฆ์ได้ ก็จึงนำไปสู่การแตกแยกของพระพุทธศาสนา เกิดความอ่อนแอของพระสงฆ์ และเกิดการพัฒนาที่ไม่พึงปรารถนาของหลักคำสอนขึ้นมา


ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ในกาลต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนามีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นนั้น พระสงฆ์ก็ได้มารวมตัวอยู่ตามศูนย์การศึกษาเล่าเรียนเหล่านี้และทำตัวห่างเหินแปลกแยกตนเองออกจากประชาชนธรรมดา  พระสงฆ์ที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่างๆในมหาวิทยาลัยก็ได้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและเลิกอุดมการณ์ดั้งเดิมเกี่ยวกับการสละโลกและการเสียสละตนเพื่อพระศาสนาและประชาชน  เมื่อฝ่ายมหายานมีความเข้มแข็งมากขึ้นนั้น พระภิกษุสงฆ์ฝ่ายนั้นก็มัวแต่ทุ่มเทเวลาให้หมดไปกับการคาดเดาทางปรัชญาและการเฉลิมฉลองทางด้านศาสนา แนวความคิดและหลักปฏิบัติของฮินดูก็จึงคลืบคลานเข้ามาหา จำนวนของพระโพธิสัตว์ ของเทพเจ้า และของเทพีต่างๆก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาพร้อมกับวิธีการบูชาหลากหลายพร้อมด้วยวรรณกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายในสิ่งเหล่านี้ ความเชื่อในสิ่งลึกลับเหนือธรรมชาติ ลัทธิการจงจักภักดี และการใช้มนตราคาถาอาคม และพิธีกรรมทั้งหลาย ต่างก็ได้รับการสนับสนุนในขณะที่เกิดความเสื่อมความตกต่ำในความสำคัญของจริยศาสตร์และจริยธรรม การพัฒนาที่ไม่ดีไม่งามฟอนเฟะเช่นนี้ซึ่งเรียกกันว่า ลัทธิตันตระ ก็ได้ก่อรูปขึ้นมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 และมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในศตวรรษต่อๆมา และต่อมาไม่นานนักก็ได้ทำให้พระพุทธศาสนาเกือบจะไม่แตกต่างอะไรไปจากศาสนาฮินดู


ในขณะเดียวกันนี้ ศังกราจารย์(พ.ศ.1331-1881) ซึ่งเป็นนักปรัชญาฮินดูผู้ยิ่งใหญ่ ก็ได้ใช้ประโยชน์จากแนวความคิดของมัธยมิกะ และโยคาจาระของท่านนาคารชุน และท่านอสังคะมาสร้างเป็นปรัชญาของตัวท่านเอง และได้ยืมแนวความคิดของชาวพุทธในการจัดตั้งวัดฮินดู(คือมัฐ หรือมฐะ) ให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษา การโฆษณา และโครงการทางสังคมอย่างเช่นที่ชาวพุทธกระทำกันมา  วัดฮินดูเหล่านี้ในชั้นแรกๆก็จะตั้งอยู่ใกล้สถานที่บูชาที่สำคัญๆเพื่อทำหน้าที่เป็นที่พักพิงสำหรับผู้แสวงบุญ ด้วยเหตุนี้ในขณะที่พระพุทธศาสนาถูกดูดกลืนเข้าไปอยู่ในรูปแบบของฮินดูและได้สูญเสียเกียรติภูมิชื่อเสียงทีดีและเกิดความอ่อนแอลงเรื่อยๆนั้น แต่ทางศาสนาฮินดูกลับซึบซับเอาองค์ประกอบที่ดีๆจากพระพุทธศาสนาเข้าไปแล้วเกิดการพองตัวเป็นความใหม่สดเป็นศาสนาที่ได้ผ่านการปฏิรูป วัดพระพุทธศาสนาบางวัดก็ถึงกับถูกเปลี่ยนเป็นสถาบันของฮินดูไปเลยก็มี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น