วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนาในพม่า


ในประเทศพม่า พระพุทธศาสนาขึ้นสู่ยุคทองในรัชสมัยของพระเจ้าอนุรุทธะ(หรือ อนรธา พ.ศ. 1588-1621) เป็นช่วงที่พม่าสามารถรวมประเทศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่ปากัน(พุกาม) และเป็นศูนย์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ 


หลังจากการยึดครองของมองโกลภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์กุบไลข่านยุติลง(ระหว่าง พ.ศ. 1831-1845) พระพุทธศาสนาก็ได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่งภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าธรรมเจดีย์(พ.ศ. 2004-2035)  ในช่วงระหว่างหกศตวรรษต่อมาพระพุทธศาสนาในพม่ามีความมั่นคงและก้าวหน้า มีการส่งพระสงฆ์จากลังกามารับการอุปสมบทและนำวิธีอุปสมบทกลับไปที่ลังกา 


การศึกษาพระอภิธรรมเจิญรุ่งเรืองมาก มีการแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่าและมีการเขียนตำราทางพระพุทธศาสนาโดยนักปราชญ์ชาวพม่า มีการทำสังคายนาที่เรียกว่า มหาสังคายนาครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่มัณเลย์ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์มินดน ในปี พ.ศ. 2415 และมีการจารึกกพระไตรปิฎกลงลงแผ่นหินอ่อนจำนวน 729 แผ่น ประดิษฐานไว้ที่เชิงเขามัณฑเลย์

เมื่อตกอยู่ภายใต้ปกครองของอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2430-2492 ก่อให้เกิดความรู้สึกทางชาตินิยมในทางศาสนาพุทธขึ้นซึ่งผสมผสานไปกับความรู้สึกชาตินิยมทางการเมืองอันนำไปสู่เอกราชทางการเมืองและการปกป้องศาสนาแห่งชาติ 


หลังจากที่พม่าได้เอกราชแล้ว ผู้นำแห่งชาติและผู้นำทางพระพุทธศาสนาก็มีความกระฉับกระเฉงในการให้การสนับสนุนและให้การส่งเสริมพระพุทธศาสนาและกิจกรรมต่างๆของพระพุทธศาสนา ในปี พ.ศ. 2498 


รัฐบาลพม่าด้วยความร่วมมือกับประเทศต่างๆและกลุ่มชาวพุทธในประเทศต่างๆได้จัดการทำสังคายนาที่เรียกว่า มหาสังคายนาครั้งที่ 6 ซึ่งจัดกันที่กรุงย่างกุ้งเพื่อท่องจำและแก้ไขคัมภีร์พระบาลีและเฉลิมฉลองวาระ 2500 ปีของการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น