วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนาในจีนและเกาหลี


พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปถึงประเทศจีนในราว พ.ศ. 600 อีกสามร้อบปีต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นถาวรอยู่ในจีนแล้ว ได้มีพระภิกษุและคณะธรรมทูตจีนได้นำคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปในประเทศเกาหลี ในสมัยนั้นเกาหลีถูกแบ่งแยกเป็น 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรซิลลา อาณาจักรปักเช และอาณาจักรโกจุระยะ พระพุทธศาสนาได้ถูกนำเข้าไปในอาณาจักรโกจุระยุเป็นอาณาจักรแรกในปี พ.ศ. 915 จากนั้นก็เผยแผ่เข้าไปในอาณาจักรปักเช แล้วก็แผยแผ่เข้าไปในอาณาจักรซิลลาเป็นอาณาจักสุดท้ายในอีกสามสิบปีต่อมา ในปี พ.ศ. 1211 อาณาจักรซิลลาสามารถควยคุมอีกสองอาณาจักรดังกล่าวและปกครองคาบสมุทรเกาหลีทั้งคาบจวบจนถึงปี พ.ศ. 1478



ในประเทศจีน ในช่วงการวมประเทศภายใต้การปกครองของราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1132-1449) มีนิกายพุทธศาสนาแบบจีนเกิดและพัฒนาขึ้นหลายนิกาย คือ นิกายเทียน-ไท(ในญี่ปุ่นเรียกว่า เทนได), นิกายซาน-ลุน(มาธยมิกะ), นิกายยุย-สีห์ (โยคาจาร วิชญาณวาท ซึ่งนำมาเผยแผ่โดยท่านซวน-ถัง), นิกายหัว-เย็น(อวตังสะกะ ในญี่ปุ่นเรียกว่า เกกอน), นิกายชาน(ธยาน ในญี่ปุ่นเรียกว่า เซน) นิกายชิง-ตู(ดินแดนบริสุทธิ์ หรือ สุขาวตีวยูหะ), นิกายนาน-ชาน(นิกายวินัย), และนิกากิง-กัง-ฉี(ตันตระ) ในบรรดานิกายเหล่านี้มีหลายนิกายได้เผยผ่เข้าไปสู่ประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ นิกายหัว-เย็น, นิกายเทียน-ไท, นิกายดินแดนบริสุทธิ์,นิกายชาน และนิกายโยคาจาร ในประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง นิกายชานได้เผยแผ่อย่างกว้างขวางและเป็นนิกายที่มีอิทธิพลมาก



ภายใต้การปกครองของอาณาจักรซิลลา พระพุทธศาสนาของจีนในช่วงราชวงศ์ถังได้เข้าไปในเกาหลี และนิกายโยคาจารได้เผยแผ่เข้าไปในหมู่ของนักปราชญ์ราชบัณฑิต แต่นิกายที่ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนคือนิกายชาน ราชวงศ์ซิลลาถูกแทนที่โดยราชวงศ์โกรโยในปี พ.ศ. 1478 บรรดาพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ใหม่นี้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และภายใต้การอุปถัมภ์ของพระองค์พระพุทธศาสนาในเกาหลีก็ได้บรรลุถึงความเจริญอย่างสูงมากในพุทธศตวรรษที่ 16 ต่อมาพระพุทธศาสนานิกายชานก็ได้รับความนิยมมากที่สุดในเกาหลีเหมือนอย่างเช่นที่จีน  จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนานิกายอื่นๆต่างค่อยๆเข้ามาผสมผสานเข้ากับนิกายชาน และปัจจุบันพระพุทธศาสนานิกายชานก็ยังคงเป็นนิกายที่มีอยู่ในเกาหลีจวบจนกระทั่งทุกวันนี้



เมื่อพระพุทธศาสนาถูกทำลายลงในอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 1742 นั้น พระพุทธศาสนาในจีนก็ถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพังโดยปราศจากผู้ช่วยเหลือให้ดำเนินการสั่งสอนอยู่ต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเวลาสั้นๆหลังจากนั้นมา คือในปี พ.ศ. 1823 กุบไลข่านได้สถาปนาการปกครองมองโกลทั้งในจีนและเกาหลี ด้วยเหตุที่พวกผู้ปกครองมองโกลเป็นพวกนิยมพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ลัทธิลามะก็ได้เข้ามามีอิทธิพลในทั้งสองประเทศและเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งให้เกิดความอ่อนแอของพระพุทธศาสนาที่นั่น  เมื่อราชวงศ์ท้องถิ่นถูกสถาปนาขึ้นมาในเกาหลีในปี พ.ศ. 1907 และในจีนในปี พ.ศ. 1911 ราชวงศ์ท้องถิ่นเหล่านี้ก็ได้หันมาใช้ศาสนาขงจื้อเป็นหลักการของชาติและยอมรับนโยบายปราบปราบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาถูกถือว่าเป็นลัทธิป่าเถื่อน ถูกห้ามไม่ให้ข้าราชการนับถือและถูกประกาศว่าเป็นศาสนาที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับประชาชนทั่วไป



ในเกาหลี วัดวาอารามของพระพุทธศาสนาถูกกำจัดออกไปจากเมืองและพระภิกษุสงฆ์ถูกบังคับไปไปอยู่ตามภูเขาลำเนาไพร ในราวห้าศตวรรษต่อมา พระพุทธศาสนาได้เริ่มมีพละกำลังเข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกาหลีอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นและต่อมาได้ถูกยึดครองในช่วงเวลาเกือบ 60 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2448 ถึง พ.ศ. 2484 เพื่อที่จะเผยแผ่หลักคำสอนและกิจกรรมของฝ่ายตนในเกาหลี พระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นนิกายต่างๆก็ได้สร้างวัดวาอารามตลอดจนดำเนินการโครงการทางสังคมและทางการศึกษาที่นั่น แต่ถึงแม้ว่าความพยายามของพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ แต่ความพยายามดังกล่าวได้ส่งผลกระทบบางอย่างแก่พระพุทธศาสนาของเกาหลี สถาบันต่างๆทางพระพุทธศาสนาเกาหลีเริ่มเกิดความรู้สึกว่าจำเป็นต้องมีการฟื้นฟู ดังนั้นสถาบันเหล่านี้ก็จึงหันมาสมัครสมานสามัคคีร่วมมือกันผลักดันภารกิจในการปฏิรูปประชาชนของตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาและการบริหาร



พระพุทธศาสนานิกายสำคัญของจีนยุคใหม่ก็คือนิกายชาน  ส่วนนิกายอื่นๆที่ยังคงมีอยู่ก็คือนิกายเทียน-ไท และนิกายดินแดนบริสุทธิ์ แต่ด้วยเหตุที่หลักคำสอนของนิกายต่างๆเหล่านี้ได้ผสมปนเปเข้าด้วยกันในความเชื่อและหลักปฏิบัติของจีน ก็จึงไม่สามารถเห็นข้อแตกต่างระหว่างนิกายเหล่านี้ได้อย่างเด่นชัด  ผู้นับถือนิกายชาน และนิกายเทียน-ไทยังเรียกชื่อของ พระอมิตาภะ และยังมีความเชื่อในดินแดนบริสุทธิ์  การเรียกชื่อว่า ---นัน-วู อมิโต-โฟ(นะโม อมิตาภายะ พุทธายะ, ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระอมิตาพุทธะ) เป็นหลักปฏิบัติสามัญในทุกวัด และทุกหลังคาเรือนของชาวพุทธจีนในทุกวันนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น