วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กำเนิดของพุทธศาสนามหายาน



พระพุทธศาสนายังได้เผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย แต่เมื่อไปถึงที่นั่นแล้วได้พัฒนาสู่รูปแบบที่แตกต่างไปจากที่มีการปฏิบัติในทางตอนใต้ การที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ได้ก็มีความจำเป็นต้องกลับไปศึกษาความเป็นไปในอินเดียอันเป็นถิ่นกำเนิดของพุทธศาสนาเสียก่อน



การแบ่งแยกของพระพุทธศาสนามีเค้ามูลย้อนไปเมื่อคราวกระทำสังคายนาครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานแล้วเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ อันเป็นช่วงที่พระสงฆ์เริ่มแตกแยกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเรียกว่าเถรวาทิน และกลุ่มที่สองเรียกว่ากลุ่มมหาสังฆิกะ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชในพุทธศตวรรษที่สามนั้นได้เกิดนิกายต่างๆถึง 18 นิกาย โดย 11 นิกายแยกออกจากฝ่ายเถรวาท และ 7 นิกายแยกออกจากมหาสังฆิกะ แต่ในบรรดานิกายเหล่านี้มีเพียง 2 นิกายเท่านั้นที่มีการพัฒนาตามแนวทางที่แตกต่างกันเป็นเวลายาวนานถึงสองหรือสามศตวรรษในกาลต่อมา



รูปแบบของพระพุทธศาสนาซึ่งเฟื่องฟูภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชคือนิกายเถวาท ด้วยเหตุที่นิกายเถรวาทนี้ได้เผยแผ่มาทางทิศใต้ นิกายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระพุทธศาสนานิกายฝ่ายใต้ ส่วนอีกนิกายหนึ่ง คือพวกมหาสังฆิกะ ต่อมาก็ได้พัฒนาการเป็นนิกายมหายาน ซึ่งศัพท์ว่ามหายานนี้พวกมหาสังฆิกะใช้เรียกฝ่ายพวกตน พุทธศาสนานิกายมหายานได้แพร่หลายในประเทศทางแถบภาคเหนือ กล่าวคือ เนปาล ทิเบต จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น และด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนานิกายมหายานนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ พวกมหายานเรียกนิกายเถรวาทว่าหีนยานโดยมีความหมายว่าเป็นยานพาหนะขนาดเล็กที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นซึ่งแตกต่างจากมหายานของพวกตนซึ่งมีความหมายว่ายานพาหนะขนาดใหญ่ แต่พวกนิกายฝ่ายใต้นี้ชอบที่จะถูกเรียกว่า เถรวาท คือ คำสอนของพระเถระ ซึ่งเป็นศัพท์ที่ถูกต้องและเป็นการใช้โดยปราศจากการลำเอียง



กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า หลักการพื้นฐานของอริยสัจสี่ อริมรรคมีองค์แปด ปัจจยัตตา กฎแห่งกรรม นิรวาณ และอื่นๆ ยังคงเป็นจุดสำคัญของทั้งสองนิกาย แม้แต่แนวคิดเรื่องอหิงสา ความอดทน อิสรเสรี และภราดรภาพ ก็ยังคงมีอยู่ในสองนิกายอีกเช่นกัน แต่ข้อแตกต่างของสองนิกายนี้อยู่ตรงการเน้นความและการตีความของแต่ละฝ่าย ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทยังคงรักษาคำสอนดั้งเดิมตามที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ภาษาบาลีอย่างเคร่งครัดนั้น ทางฝ่ายมหายานใช้วิธีตีความพระธรรมและพระวินัยอย่างอิสระภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน ทำการเปลี่ยนแปลงคัมภีร์ที่เดิมเป็นภาษาบาลีเป็นภาษาสันสกฤตโดยมีการผนวกคัมภีร์ของอาจารย์ในภายหลังเข้ามาไว้ด้วย และมีการแบ่งแยกเป็นนิกายและอนุนิกายใหม่อีกหลากหลาย


ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทเป็นศาสนาทางพุทธิปัญญาที่ต้องอาศัยความเพียรพยายามด้วยตนเอง ข้างฝ่ายมหายานมีความเชื่อในการหลุดพ้นโดยอาศัยศรัทธาและความภักดี  ในฝ่ายเถรวาทนั้นพระพุทธเจ้าคือผู้ค้นพบสัจธรรมและเป็นผู้ชี้แนะหนทาง แต่ในทางฝ่ายมหายานนั้นพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไถ่บาปให้มวลมนุษย์ การเน้นย้ำของฝ่ายเถรวาทเน้นไปที่ปัญญาและการรู้ที่ได้จากการปฏิบัติตามหนทางการพึ่งตนเองเพื่อนำไปสู่ภาวะอุดมคติคือการเป็นพระอรหันต์ แต่ข้างฝ่ายมหายานเน้นที่ความกรุณา อันเป็นคุณธรรมหลักของพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นบุคคลในอุดมคติซึ่งได้ปฎิญาณว่าจะช่วยเหลือมวลมนุษย์และทุ่มเททำงานเพื่อความดีของมวลมนุษย์ที่กำลังมีความทุกข์ นอกเหนือจากนั้นแล้ว มหายานยังให้ความสนใจในการคาดเดาทางปรัชญาและพิธีกรรม ในขณะที่หลักคำสอนดั้งเดิมของฝ่ายเถรวาทพิจารณาเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์.

2 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากเลยค่ะขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากค่ะ ใช้อ่านสอบวิชาพระพุทธศาสนาพรุ่งนี้พอดีเลย

    ตอบลบ