วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนาของนิกายฝ่ายเหนือ



ได้มีการกระทำสังคายนาภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ แต่เป็นการสังคายนาที่ฝ่ายเถรวาทไม่ให้การรับรอง โดยจัดขึ้นที่กัษมีระ หรือชลันดาร์ นับได้ว่าเป็นสังคายนาตรั้งที่สามของมหายานซึ่งไม่ยอมรับสังคายนาครั้งที่สามที่ฝ่ายเถรวาทจัดขึ้นที่เมืองปาตลีบุตร และถือว่าเป็นสังคายนาครั้งที่สี่ของอินเดีย สังคายนนาครั้งนี้ผู้ที่เป็นประธานคือพระเถระผู้คงแก่เรียนนามว่า พระวษุมิตร และพระปารษวะ และมีพระสงฆ์เข้าร่วมสังคายนาจำนวนห้าร้อยรูป ในสังคายนาครั้งนี้ได้ให้การยอมรับพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตชุดใหม่พร้อมทั้งหลักการพื้นฐานของนิกายฝ่ายมหายาน นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่นามว่าอัศวโฆษซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางศาสนาของพระจักรพรรดิและเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสังคายนาครั้งนี้ได้เขียนอรรถกถา(คำอธิบาย)ของฝ่ายมหายานเป็นครั้งแรกไว้หลายเรื่อง ท่านอัศโฆษผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียก่อนท่านกาลิทาส ในราวครึ่งศตวรรษหลังจากท่านอัศวโฆษนี้ ท่านนาคารชุนซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวพุทธผู้ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่ง ก็ได้ก่อตั้งนิกายมาธยมิกะของฝ่ายมหายาน


ท่านนาคารชุนเกิดที่แคว้นอันธระอันเป็นจักวรรดิของกษัตริย์ราชวงศ์ศาตวาหนะในอินเดียตอนกลางซึ่งอยู่ทางใต้ของจักรวรรดิกุษานที่เกิดขึ้นมาภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะและเจริญรุ่งเรืองอยู่จนถึงพุทธศตวรรษที่ 8  ท่านนาคารชุนเป็นพระสหายของกษัตริย์ยัชญาศรีซึ่งปกครองจักรวรรดิสาตวาหานระหว่าง พ.ศ. 709 ถึง พ.ศ. 739 และพุทธศาสนาก็มีความรุ่งเรืองภายใต้การอุปถัมภ์ของพระองค์ เพราะว่าบรรดากษัตริย์แห่งจักรวรรดิสาตวานล้วนเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและใช้จ่ายทุนทรัพย์ของแผ่นดินจำนวนมหาศาลเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สำคัญๆ เช่น ศาญจี อมราวดี และนาคารชุนิโกณฑะ ตลอดจนการสร้างสาธารณวัตถุ เช่น โรงเรียน บ้านพักอาศัย บ่อน้ำ อ่างน้ำ สะพาน และเรือข้ามฟากเป็นต้น


ในปุรุษปุระเมืองหลวงของพระองค์นั้นพระเจ้ากนิษกะได้ทรงสร้างพระสถูปขนาดใหญ่สถูปหนึ่งซึ่งบัดนี้เหลือแต่ซากที่ฐานวัดออกไปทุกด้านวัดได้ 285 ฟุตและมีความความสูง 638 ฟุต ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ภายใต้พระอุปถัมภ์ของพระองค์ วรรณกรรมภาษาสันสกฤตและศิลปะสกุลคันธาระได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง และจากอิทธิพลของการสังคายนาก็ดี จากผลงาผลงานของนักปราชญ์ราชบัณฑิตก็ดี จากการสนับสนุนส่งเสริมในพระราชูปถัมภ์ก็ดี ทำให้พุทธศาสนามหายานได้เผยแผ่เข้าไปในเอเชียกลางไปจนถึงจีน จากจีนก็เผยแผ่เข้าไปยังเกาหลีและญี่ปุ่นและได้หยั่งรากแน่นหนามั่นคงอยู่ในประเทศต่างๆเหล่านี้.


เมื่อถึงช่วงนี้ศูนย์กลางของการศึกษาของศาสนาพุทธตั้งอยู่ที่นาลันทา ท่านนาคารชุนเองก็ได้เคยเข้าไปพำนักอยู่ที่นี่เป็นเวลาหลายปี ในช่วงระหว่างยุคคุปคะ(พ.ศ. 863-467) พนาลันทาได้เจริญเติบโตทั้งทางด้านขนาดและด้านความสำคัญจวบจนกระทั่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์รวมทั้งฆราวาสจำนวนระหว่าง 3000-10000 รูป/คน พำนัก สอนและศึกษาอยู่ในขณะนั้น และวิชาการที่มีการสอนในมหาวิทยาลัยก็เช่น พระพุทธศาสนา ตรรกศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย แพทยศาสตร์  ภาษาศาสตร์  ไวยากรณ์ โยคะ และดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยนาลันทาได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์หลายราชวงศ์ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติจวบจนกระทั่งถูกทำลายโดยพวกเติร์กในราวปี พ.ศ. 1750 ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนาระดับคลาสสิกในถ้ำ 29 แห่งได้ถูกแกะสลักไว้ในหินที่อะชันตา(ประมาณ 250 ไมล์ทางตะวันออกฉียงเหนือของบอมเบย์(มุมไบในปัจจุบัน) อันเป็นการแกะสลักที่มีอายุย้อนหลังไปราวปี พ.ศ. 350 ก็เกิดขึ้นในระหว่างยุคคุปตะนี่อีกเหมือนกัน


ในช่วงเวลาเดียวกันนี้(คือในพุทธศตวรรษที่ 9) ท่านอสังคะ และท่านวสุพันธุ สองคนพี่น้อง ได้ก่อตั้งนิกายโยคาจารขึ้นมา ในขณะที่หลักคำสอนของสุญวาทของพวกมัธยมิกะได้ถูกประกาศให้เป็นผลงานหลักของพวกปรัชญาปารมิตะ หลักคำสอนของวิชญาณวาทของโยคาจารก็ได้ถูกสอนในลังกาลตารสูตร หลักการของสองระบบของมหายานนี้มีอิทธิพลต่อรูปแบบของคำสอนของพระพุทธศาสนาในจีน เกาหลี ญี่ปุ่นและทิเบต


ในราวปี พ.ศ. 944  ท่านกุมารชีวะ นักแปลผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝ่ายมหายานก็ได้ถูกนำตัวจากเอเชียกลางไปยังจีนในฐานะเชลยศึก หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ได้ถูกนำตัวไปที่ราชสำนักจีนที่ฉางอาน ท่านกุมารชีวะโยการช่วยเหลือของบรรดาศิษษยุศิษย์จีนท่านได้แปลตำราภาษาสันสกฤตจำนวนมากรวมทั้งผลงานของท่านนาคารชุนเป็นภาษาจีน คำแปลของท่านถือได้ว่าเป็นงานที่มีมาตรฐานนานนับหลายศตวรรษในภาษาจีนและท่านได้รับเกียรติจากชาวพุทธจีนว่าเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ทางหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามากที่สุด  ก็เพราะท่านกุมารชีวะนี่แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนจีน และท่านก็ยังเป็นผู้วางรากฐานเพื่อเปลี่ยนแปลงเอเชียตะวันออกให้เป็นดินแดนของมหายาน หลังจากยุคของท่านกุมารชีวะนี้แล้ว นักปราชญ์อื่นๆทั้งที่เป็นชาวจีนและชาวต่างประเทศก็ได้แปลตำราของโยคาจารและทำให้แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในจีน


ระหว่างปี พ.ศ. 944-953 นักแสวงบุญจีนนามว่าหลวงจีนฟาเหียนซึ่งเป็นศิษย์ของท่านกุมารชีวะได้ไปเยือนอินเดียเพื่อเสาะแสวงหาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ท่านหลวงจีนฟาเหียนได้เขียนเล่าถึงสภาพต่างในรัชสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 ว่าสังคมอินเดียมีความเจริญก้าวหน้ามากภายใต้อิทธิพลของพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความสุขและมีความมั่งคั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอาณาจักโรมันและอินเดียแล้ว อินเดียน่าจะเป็นดินแดนที่มีความศิวิไลซ์มากที่สุดในเวลานั้น


ในราว 25 ปีหลังจากหลวงจีนฟาเหียนเยือนเกาะชวาในระหว่างเดินทางกลับไปที่จีนนั้น มีพระภิกษุจีนอีกรูปหนึ่งนามว่าคุณวรมันได้เดินทางไปเยือนที่เกาะชวานี้ ท่านประสบความสำเร็จสามารถชักนำพระราชมารดาของพระราชินีให้มานับถือพระพุทธศษสนา ต่อแต่นั้นพระราชาและประชาชนก็ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา หลังจากนั้นท่านคุณวรมันได้รับการอาราธนาจากจักรพรรดิจีนให้ไปเยือนจีน ซึ่งท่านก็ได้ไปเผยแผ่คำสอนของ”ดอกบัวแห่งกฎมหัศจรรย์ “(The Lotus of the Wonderful Law) และได้ก่อตั้งสถาบันสังฆภิกษุณีขึ้นมาที่นั่นด้วย


ในปี ค.ศ. 1069 พระภิกษุอินเดียนามว่าพระโพธิธรรม ได้เดินทางไปที่จีนและได้รับการอาธารนาเข้าไปยังราชสำนักของจักรวรรดิจีนที่เมืองโลยัง หรือ นานกิง ณที่นี้ท่านได้ก่อตั้งนิกายชาน หรือพระพุทธศาสนาแบบฌาน ซึ่งในอีกสองสามศตวรรษต่อมา ได้เผยแผ่ไปทั่วจีนและราวหกศตวรรษต่อมา ก็ไปเป็นนิกายที่ลงหลักปักฐานมั่นคงอยู่ที่ญี่ปุนในนามพระพุทธศาสนาแบบเซน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น