วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รายละเอียดวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา

รายละเอียดของรายวิชา
---------------------------------
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยมหามกกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธร ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนาราม
คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์การปกครอง ปริญญาตรี


หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑.รหัสและชื่อรายวิชา : BU ๕๐๐๑  ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา  (BU 5001 History of Buddhism)
๒.จำนวนหน่วยกิต
๓ หน่วยกิต(๓-๐-๐)
๓.หลักสูตรและประเภทรายวิชา
ปริญญาตรี
๔.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
พลเรือตรี รองศาสตราจารย์ทองใบ ธีรานันทางกูร ป.ธ.๙, พ.ม.พธ.บ. M.A.(Panjab), M.PHIL.(London)
๕..ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ปริญญาตรี ภาคต้น
๖. รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน
ไม่มี
๗.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน
ไม่มี
๘.สถานที่เรียน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วืยาเขตสิรินธร ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนาราม
๙.วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์


๒. จุดมุ่งหมายรายวิชา เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ความคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา พระพุทธประวัติ พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน การแยกนิกาย การขยายตัวของพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ  และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ

๓. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา         
๑.      เพื่อให้รู้และเข้าใจแนวความคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสมัยก่อนพุทธกาล
๒.     เพื่อให้รู้และเข้าใจพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติถึงปรินิพพาน
๓.     เพื่อให้รู้และเข้าใจการเกิดนิกายในพระพุทธศาสนาและการขยายตัวของพระพุทธศาสนา
๔.     เพื่อให้รู้ประวัติและบทบาทของพระสาวก พระสาวิกา ตลอดนักคิดที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
๕.      เพื่อให้ตระหนักถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน

หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ
๑.คำอธิบายรายวิชา
-ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ความคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา พระพุทธประวัติ พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน การแยกนิกาย การขยายตัวของพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ  และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ
๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
-๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวม ๔๘ ชั่วโมงต่อภาค
๓.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
-สัปดาห์ละ ๓ ชั่วโมง

หมวดที่ ๔ การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
๑.คุณธรรม จริยธรรม
๑.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
-มีเมตตา ความรัก มีระเบียบวินัย ใคร่ศึกษา ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การตรงต่อเวลา
๑.๒ วิธีการสอน
-ผู้สอนทำตัวเป็นตัวอย่างเพื่อฝึกคุณธรรม จริยธรรมตามข้อ ๑.๑
-สอดแทรกตัวอย่างของผู้มีคุณธรรม จริยธรรมตามข้อ ๑.๑
-กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับผู้เรียน เช่นเข้าห้องเรียนตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ
-ฝึกฝนในความมีน้ำใจและให้ความช่วยเหลือกันและกัน
๑.๓ วิธีการประเมินผล
-ตรวจสอบการเข้าเรียนของนักศึกษาทุกครั้ง
-ตรวจสอบการตรงต่อเวลาในการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
-ตรวจสอบว่ามีการทุจริตในเวลาสอบหรือไม่
๒. ความรู้
๒.๑ ความรู้ที่ต้องได้รับ
-ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ความคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา พระพุทธประวัติ พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน การแยกนิกาย การขยายตัวของพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ  และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ
๒.๒ วิธีการสอน




-ลักษณะการเรียนการสอน  การเรียนการสอนในรายวิชานี้จะประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ การบรรยาย และ การแบ่งกลุ่มตอบคำถามท้ายบท และให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้นเรียน การบรรยายในชั้นจะเป็นพื้นฐานความรู้พื้นฐานของเรื่องหรือหัวข้อนั้นๆส่วนการตอบคำถามท้ายบทในชั้นจะช่วยเป็นการทบทวนเนื้อหาของหัวข้อที่บรรยาย
-การใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ
-มอบหมายให้นักศึกษาเพิ่มเติมจากตำราหรือเว็บไซต์ต่างๆ
๒.๓ วิธีการประเมิน
-สังเกตพฤติกรรมขณะเรียน
-ประเมินการมีส่วนร่วมและความตั้งใจในชั้นเรียน
๓.ทักษะทางปัญญา
๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
-ความสามารถในการรอบรู้ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และความสามารถในการนำความรู้เรื่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาต่อสาธารณชนได้
๓.๒ วิธีการสอน
-ใช้วิธีบรรยาย การอภิปรายในชั้นเรียน และการร่วมทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
-แนะแหล่งความรู้ทั้งในตำราเรียนและในเว็บไซต์ต่างๆ
๓.๓ วิธีประเมินผล
-ตรวจสอบการทำงานกลุ่มในชั้นเรียน
-การส่งงาน
-มาตรฐานของการที่นำมาเสนอ
๔.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
๔.๑ ให้เรียนรู้บทบาทในฐานะเป็นผู้นำและในฐานะเป็นผู้ตาม
๔.๒ วิธีการสอน
-มอบหมายงานให้ทำ
๔.๓ วิธีการประเมินผล
-สังเกตว่าสามารถทำงานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
๕.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
-ให้ทำงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การทำผัง การทำชาร์ท
๕.๒ วิธีการสอน
-สอนวิธีทำเว็บ
-สอนวิธีใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-สอนวิธีการทำ PowerPoint
๕.๓ วิธีการประเมิน
-ประเมินผลงานที่นำมาเสนอ
-ประเมินการใช้เครื่องมือต่างๆ
-ประเมินจากการนำเสนอข้อมูล

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
๑.แผนการสอน


สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้
ผู้สอน
ข้อตกลงเรื่องกระบวนการเรียนการสอน
ผู้สอนนำเสนอกระบวนการเรียนการสอน  การวัดผลและการประเมินผล นักศึกษาซักถาม
พลเรือตรี รศ.ทองใบฯ
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รากฐานของพระพุทธศาสนา
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
พระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงนิพพาน
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบฯ
พระพุทธศาสนาในยุคแรก
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบฯ
พระพุทธศาสนายุคพระเจ้าอโศกมหาราช
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบฯ
การอุบัติขึ้นของราชวงศ์ศุงคะ
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชาติกรีกและชาวพุทธ

บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
สอบกลางภาค



การเกิดขึ้นของมหายาน
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๐
การขยายตัวของมหายานในอินเดีย
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
   ๑๑พระพุทธศาสนาในเอเชียใต้


บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๒
พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๓
พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๔
พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๕
บทบาทของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และนักคิดทางพระพุทธศาสนา
บรรยาย/ซักถาม/ใช้PowerPoint/แยกกลุ่มทำแบบฝึกหัดท้ายบท
พลเรือตรี รศ.ทองใบ
๑๖
สอบปลายภาค





๒.แผนการประเมินการเรียนรู้

สนใจเข้าเรียน ๕%
รายงานกลุ่ม ๑๐ %
กิจกรรมระหว่างเรียน ๑๕%
สอบกลางภาค ๓๕%
สอบปลายภาค ๓๕ %

หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑.เอกสารอ่านประกอบและข้อมูลสำคัญ
คูณ โทขันธ์.ศาสนาเปรียบเทียบ.กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พรินติ้ง เฮาส์,๒๕๓๙.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. ศาสนศึกษา.กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว, ๒๕๕๔.
พระญาณวโรดม.ศาสนาต่างๆ.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๓๘.
มนต์ ทองทัช. 4 ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์,๒๕๓๐.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทยม ฉบบราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๔๒.
วนิดา ขำเขียว. ศาสนาเปรียบเทียบ.นนทบุรี:เจนเดอร์เพรส,๒๕๔๑.
เสฐียร พันธรังษี.ศาสนาเปรียบเทียบ.กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๔.
แสง จันทร์งาม. ศาสนศาสตร์.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๔.
Phra Rajavaramuni.Thai Buddhism in The Buddhist World. Bangkok: Mahachulalongkorn Buddhist University, 1990.

๒.เว็บบล็อกวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
http://historyofbuddhism-mbu-watkomet.blogspot.com/

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินงานของรายวิชา
๑.กลยุทธ์การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
-ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา อันรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นต้น
๒.กลยุทธ์การประเมินการสอน
-ให้อาจารย์คนอื่นๆเข้ามามีส่วนในการสังเกตและประเมินการเรียนการสอน
๓.ปรับปรุงการสอน
-เมื่อได้ข้อมูลจากกลยุทธ์การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษา และจากกลยุทธ์ประเมินการสอนแล้ว  ก็ให้ผู้สอนนำไปพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป
๔.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
-ห้องเรียนวัดโกเมศควรมีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนในแต่ละภาคการศึกษา
๕.การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
-ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนารามควรมีระบบทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาโดยการประเมินการสอนโดยนักศึกษา โดยคณะกรรมการประเมินผลแล้วนำผลมาเสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในภาคเรียนอื่นต่อไป.
-

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับอารย์ที่ให้ความรู้

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. ทำบล็อกตามที่ได้แนะนำหรือยัง(หากยังไม่ทำบล็อก ก็ดูที่อาจารย์โพสต์ล่าสุดในเว็บนี้) เมื่อทำบล็อกแล้ว ให้โพสต์ข้อความอย่างน้อย 4 หน้า ข้อความที่เอามาโพสต์อย่าเอาจากอินเตอร์เน็ต ให้คิดเขียนขึ้นมาเอง เวลาโพสต์แต่ละหน้าให้คลิกดูก่อนทุกโฑสต์ เป็นการเชื้อเชิญตุ๊กตากลให้เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บของเรา จากนั้นรอสักหนึ่งสัปดาห์ ลองเอาชื่อเว็บของเราไป Search ใน google หากติดอันดับหนึ่งถึงห้าของหน้าแรกถือว่าใช้ได้ แล้วให้โพสต์ต่อไปเรื่อยๆเพื่อรักษาอันดับเอาไว้

    ตอบลบ