วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 2 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูรากฐานของพระพุทธศาสนา



        ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ แถบประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน เป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือว่าศาสนาของตนไม่มีจุดกำเนิดและไม่มีจุด สิ้นสุดจะคงอยู่คู่โลกนิรันดร 

        ศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูเป็นศาสนาเดียวกัน คำว่า ศาสนาพราหมณ์ มีความหมายว่าศาสนาของพระพรหม ต่อมาได้ปฏิรูปให้เป็น ศาสนาฮินดู คำว่า ฮินดู เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่ง อยู่ในประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ชนชาวอารยันได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการปฏิรูปคำสอนเดิมและเพิ่มเติมคำสอน ใหม่ๆ ลงไปผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองหรือชาวมิลักขะหรือทัสยุ แต่ไม่ได้เรียกศาสนาใหม่ว่า ฮินดูเพียงแต่เรียกว่า สนาตนะธรรม หรือกฎธรรมชาติที่นิรันดร ต่อมาชาวตะวันตกจึงเรียกศาสนาของคนแถบแม่น้ำสินธุว่า ศาสนาฮินดู เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีกชื่อในศาสนาใหม่ว่าฮินดู ปัจจุบันนี้ศาสนิกชนพราหมณ์-ฮินดูส่วนมากอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนหนึ่งจะอาศัยอยู่ในประเทศอื่นๆ เช่น ศรีลังกา บาหลี อินโดนีเซีย ไทย และแอฟริกาใต้ โดยทั่วไป ถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด 3 องค์ คือ พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก พระอิศวร หรือ พระศิวะ เป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก

ความเป็นมา

        ศาสนาฮินดูมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ประกาศศาสนา เป็นศาสนาของชาวอารยะ(ภาษาบาลีเรียกว่าชาวอริยกะ)ซึ่งเชื่อกันว่าอพยพมาจาก ยุโรป เข้ามาสู่อินเดียเมื่อราว ๓,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชาวฮินดูเชื่อว่าศาสนาฮินดูสืบทอดมาจากคัมภีร์พระเวทซึ่งเชื่อว่าฤาษีในสมัย ก่อนได้รับ โดยตรงจากพระเป็นเจ้าจึงมีชื่อเรียกรวมๆว่า คัมภีร์ศรุติ (Śruti) จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่าชาวพื้นเมืองเดิมที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ สินธุ
        เป็นเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรียกกันว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ราว ๒๐๔๗-๑๓๕๗ปี ก่อน พ.ศ.) เป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเพราะมีการสร้างเมืองที่มีผังเมืองเป็น ระเบียบ ประชาชนมีการอาบน้ำตามพิธีทางศาสนาเคารพบูชาเทพเปลือยกายที่มีเขาและมีสัตว์ แวดล้อม กราบไหว้เทพที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ นับถือสัตว์คล้ายวัวมีเขาหนึ่งเขา ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมแตกต่างจากศาสนาของชาวอารยะที่อพยพเข้ามาในภายหลัง ที่มาตั้งรกรากยุคแรกๆที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ชาวอารยะยุคแรกๆเคารพนับถือเทพหลายองค์ที่เป็นพลังอยู่เบื้องหลังธรรมชาติ ซึ่งยังไม่มีรูปร่างแบบรูปร่างมนุษย์อย่าง ชัดเจนเหมือนเทพในศาสนาฮินดูยุคหลัง ยุคที่ชาวอารยะเข้ามานั้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมก็ยังคงมีผู้นับถือต่อมาและได้มีอิทธิพลต่อ ศาสนาของชาวอารยะในสมัยหลัง
        ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลก ศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า 4,000 ปี เนื่องจากศาสนา นี้มีวิวัฒนาการ อันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึง ปัจจุบัน จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คิดว่าเกิดจาก การได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนา ของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย ทั้งในสมัยเดียวกัน และสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง ก็ยังเรียกต่างกันไปตาม กาลเวลา

ชื่อเรียกของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

        1. สนตนธรรม แปลว่า ศาสนาสนต หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ
        2. ไวทิกธรรม แปลว่า ธรรมที่ได้มาจากพระเวท
        3. อารยธรรม แปลว่า ธรรมอันดีงาม
        4. พราหมณธรรม แปลว่า คำสอนของพราหมณาจารย์
        5. ฮินทูธรรม หรือฮินดูธรรม แปลว่า ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู

สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

        คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า โอม ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม มาจาก อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คือ อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมา ม แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ สัญลักษณ์รองลงมาคือ เครื่องหมายสวัสดิกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกนิกาย ทุกลัทธิใช้กันมาก เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวร หรือพระคเณศ หมายถึงเป็นมงคลทุกด้าน ทุกมุม ปราศจากอุปสรรคทั้งปวงรองลงมามีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิ ใช้กันประจำนิกาย และลัทธิ เช่น นิกายไศวะ ใช้รูปตรีศูล นิกายไวษณพ ใช้รูปจักร เป็นต้น ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ ทางสมาคมฮินดูสมาชเอาตัวอักษรโอม เป็นสัญลักษณ์ สมาคมฮินดูธรรมสภา เอารูปโอม ล้อมรอบด้วยสวัสดิกะ และจักร ในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์ ทั้งสามสถาบัน รวมกันเรียกว่า องค์การศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมัสัญลักษณ์ร่วมคือ ตัวโอม อยู่ระหว่างตรีศูล นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถ และอื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย และประจำลัทธิด้วย แต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ


คัมภีร์ทางศาสนา

คัมภีเก่าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเรียกว่า ไตรเพท คัมภีร์ที่ใช้ในปัจจุบันเรียกว่า สามเวท ประกอบด้วย
1.ฤคเวท บทสรรเสริญพระเจ้า
2.ยชุรเวท ว่าด้วยพิธีบูชายัญ
3.สามเวท บทสวดที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
4.อาถรรพเวท ว่าดว้ยคาถาอาคมที่ใช้ป้องกันตนเอง รักษาโรค และ ทำร้ายผู้อื่น

การแบ่งยุคสมัยของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู

1. สมัยอริยกะ ระยะเวลาประมาณ 950 ปีก่อนพุทธกาล
2. สมัยพระเวท - 957-475 ก่อนพุทธกาล
  • พระอินทร์ (เทพแห่งสงคราม), พระวรุณ (เทพแห่งเกษตร, กฏจักรวาล, จริยธรรม), พระพฤหัส (เทพแห่งวิชาการ)
  • คัมภีร์พระเวท เรียกว่า ศรุติ คือสิ่งที่ได้ยินจากเทพเจ้า (โดยผ่านทางฤาษี)
3. สมัยพราหมณ์ - 257 ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ.43
  • พราหมณ์เป็นใหญ่
  • พวกอารยันเชื่อในความภัคดีต่อเทพเจ้า แต่งบทสวด ทำพิธีบวงสรวง เกิดวรรณทั้ง 4
  • พหุเทวนิยม เพื่ออธิบายการหมุนเวียน, สังสารวัฎของโลกและชีวิต
  • สร้างทฤษฎีอวตาร - การแบ่งภาคมาเกิดในโลกของพระนารายณ์ เพื่อแสดงวิวัฒนาการและอำนาจของเทพ
4.สมัยฮินดูเก่า(ฮินดูแท้) และอุปนิษัท - 57 ปีก่อน พ.ศ.-ต้นพุทธกาล
5.สมัยสูตร - พ.ศ.60-พ.ศ.360
6.สมัยอวตาร - พ.ศ. 220-พ.ศ.660
7.สมัยเสื่อม พ.ศ. 861-พ.ศ.1190
8.สมัยฟื้นฟู พ.ศ. 1200-พ.ศ. 1740
9.สมัยภักติ พ.ศ. 1740- พ.ศ. 2300

นิกาย

  • นิกายไวษณพ นับถือพระวิษณุ
  • นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ
  • นิกายศักติ เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น