วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

เถรคาถา_#ปิลินทวัจฉเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลทั้งแปลโดยอรรถและแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

 

#ปิลินทวัจฉเถรคาถา

ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลทั้งแปลโดยอรรถและแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

สฺวาคตํ นาปคตํ        นยิทํ ทุมฺมนฺติตํ มม

ปวิภตฺเตสุ ธมฺเมสุ      ยํ เสฏฺฐํ ตทุปาคมินฺติ ฯ

ปิลินฺทวจฺโฉ เถโร ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่าจักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ ปิลินฺทวจฺโฉ ชื่อว่าปิลินทวัจฉะ อายสฺมา ผู้มีอายุ  อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติว่าดังนี้ มยา อันเรา สฺวาคตํ มาดีแล้ว อาคมนํ อันว่าอันมา อปคตํ เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โหติ ย่อมเป็น น หามิได้  อิทํ จินตนํ อันว่าอันคิดนี้ มม ของข้าพเจ้า ทุมมนฺติตํ เป็นความคิดที่ไร้ประโยชน์ โหติ ย่อมเป็น น หามิได้ ธมฺเมสุ ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลาย ปวิภตฺเตสุ อันอันพระผู้มีพระภาคจำแนกแล้ว อหํ อันว่าข้าพเจ้า อุปาคมึ เช้าถึง(บรรลุ) แล้ว ยํ  ตํ เสฏฐํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมอันประเสริฐสุดใดนั้น.

เถรคาถา_#วีรเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลทั้งแปลโดยอรรถและแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

 

#วีรเถรคาถา

โย ทุทฺทมโย ทเมน ทนฺโต

ธีโร  สนฺตุสิโต วิติณฺณกงฺโข

วิชิตาวิ อเปตโลมหํโส

วีตราโค ปรินิพฺพุโต ฐิตตฺโตติ ฯ

วีโร เถโร 

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระวีรเถระได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลาภรรยาเก่าไปเล้าโลม เพื่อให้สึก ว่า เมื่อก่อน ผู้ใดเป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้ผู้นั้นอันพระผู้มีพระภาคฝึกฝนได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์มีความสันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนลุกขนพอง ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ วีโร ชื่อว่าวีระ อายสฺมา ผู้มีอายุ อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติว่าดังนี้ โย ปุคฺคโล อันว่าบุคคลใด ทุทฺทมโย เป็นผู้ฝึกฝนได้ยาก ทนฺโต เป็นผู้อันพระศาสดาฝึกแล้ว ทเมน ด้วยการฝึกด้วยอริยสัจสี่ ธีโร เป็นนักปราชญ์ สนฺตุสิโต เป็นผู้สันโดษ วิติณฺณกงฺโข เป็นผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว วิชิตาวิ เป็นผู้ชนะซึ่งกิเลสได้แล้ว อเปตโลมหํโส เป็นผู้มีขนพองอันไปปราศแล้ว วีตราโค เป็นผู้มีความกำหนัดไปปราศแล้ว ฐิตตฺโต เป็นผู้มีตนอันตั้งมั่นแล้ว ปรินิพพุโต เป็นผู้ดับซึ่งกิเลสแล้ว โหติ ย่อมเป็น.

เถรคาถา_#ภัลลิยเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลโดยอรรถและคำแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

 

#ภัลลิยเถรคาถา

โย ปานุทิ มจฺจุราชสฺส เสนํ

นฬเสตตว สุทุพฺพลํ มโหโฆ

วิชิตาวิ อเปตเภรโว หิ

ทนฺโต โส ปรินิพฺพุโต ฐิตตฺโตติ ฯ

อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา ภลฺลิโย เถโร ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระภัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ผู้ใดกำจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่ กำจัดสะพานไม้อ้ออันแสนจะทรุดโทรม ฉะนั้น ก็ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัวมีตนอันฝึกฝนแล้วมีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้แล้ว.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ ภลฺลิโย ชื่อว่าภัลลิยะ อายสฺมา ผู้มีอายุ  อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติ ว่าดังนี้ โย ปคฺคโล อันว่าบุคคลใด ปานุทิ กำจัดแล้ว เสนํ ซึ่งเสนา มจฺจุราชสฺส แห่งมัจจุราช นฬเสตุุํ สุทุพฺพลํ มโหโฆ ปานุทินฺโต  อิว ราวกะ อันว่าห้วงน้ำใหญ่ กำจัดอยู่ ซึ่งสะพานอันทำด้วยไม้อ้อ  อันทรุดโทรม หิ เพราะว่า โส ปุคฺคโล อันว่าบุคคลนั้น วิชิตาวิ เป็นผู้เอาชนะซึ่งมารแล้ว อเปตเภรโว เป็นผู้มีความหวาดกลัวไปปราศแล้ว  ทนฺโต เป็นผู้ถูกฝึกแล้ว ฐิตตฺโต เป็นผู้มีตนอันตั้งมั่นแล้ว ปรินิพฺพุโต เป็นผู้ดับซึ่งกิเลสได้แล้ว โหติ ย่อมเป็น.

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2566

เถรคาถา_ สีตวนิยเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลโดยอรรถ คำแปลโดยพยัญชนะ #เถรคาถา

สีตวนิยเถรคาถา

โย สีตวนํ อุปาคา ภิกฺขุ

เอโก สนฺตุสิโต สมาหิตตฺโต

วิชิตาวิ อเปตโลมหํโส

รกฺขํ กายคตาสตึ ธีติมาติ ฯ

อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา สีตวนิโย เถโร  ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระสีตวนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุใดมาสู่ป่าสีตวันแล้ว ภิกษุนั้นเป็นผู้อยู่แต่ผู้เดียว สันโดษ มีจิตตั้งมั่น ชนะกิเลส ปราศจากขนลุกขนพอง มีปัญญารักษากายาคตาสติอยู่.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ สีตวนิโย ชื่อว่าสีตวนิยะ อายสฺมา ผู้มีอายุ อภิสตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติ ว่าดังนี้ ภิกฺขุ อันว่าภิกษุ โย ใด อุปคา มาแล้ว สีตวนํ สู่ป่าสีตวัน โส ภิกฺขุ อันว่าภิกษุนั้น เอโก เป็นผู้เดียว สนฺตุสิโต เป็นผู้สันโดษ สมาหิตตฺโต เป็นผู้มีตนตั้งมั่นแล้ว วิชิตาวี เป็นผู้ชนะกิเลสแล้ว อเปตโลมหํโส เป็นผู้มีความขนพองไปปราศแล้ว ธีติมา เป็นผู้มีปัญญา รกฺขํ รักษาอยู่ กายคตาสตึ ซึ่งกายคตาสติ (สติที่เป็นไปในกาย). 

เถรคาถา_ทัพพเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลโดยอรรถ คำแปลโดยพยัญชนะ #เถรคาถา

 

#ทัพพเถรคาถา

โย ทุทฺทมโย ทเมน ทนฺโต

ทพฺโพ สนฺตุสิโต วิติณฺณกงฺโข

วิชิตาวิ อเปตเภรโว หิ

ทพฺโพ โส ปรินิพฺพุโต ฐิตตฺโตติ ฯ

อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา ทพฺโพ เถโร คาถํ อภาสิตฺถ ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระทัพพเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า เมื่อก่อนพระทัพพมัลลบุตรองค์ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่น ฝึกฝนได้โดยยาก แต่เดี๋ยวนี้พระทัพพมัลลบุตรองค์นั้น เป็นผู้อันพระศาสดาได้ทรงฝึกฝนด้วยการฝึกฝนด้วยมรรคอันประเสริฐ เป็นผู้สันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลส ปราศจากความขลาด มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนได้แล้ว.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ ทพฺโพ ชื่อว่าทัพพะ อายสฺมา ผู้มีอายุ อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติว่าดังนี้  ทพฺโพ อันว่าพระทัพพะ โย องค์ใด ทุทฺทมโย เป็นผู้อันบุคคลฝึกฝนได้ยาก ทนฺโต เป็นผู้อันพระพุทธเจ้าฝึกฝนแล้ว ทเมน ด้วยการฝึกฝน (อริยมคฺเคน ด้วยมรรคอันประเสริฐ) สนฺตุสิโต เป็นผู้สันโดษ วิติณฺณกงฺโข เป็นผู้มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว หิ เพราะว่า โส ทพฺโพ อันว่าพระทัพพะนั้น วิชิตาวี เป็นผู้ชนะกิเลส  อเปตเภรโว เป็นผู้มีความขลาดอันไปปราศแล้ว ฐิตตฺโต เป็นผู้มีตนอันตั้งมั่นแล้ว ปรินิพฺพุโต เป็นผู้ดับความเร่าร้อนแล้ว โหติ ย่อมเป็น ฯ

เถรคาถา_ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลโดยอรรถ คำแปลโดยพยัญชนะ #เถรคาถา

 

#ปุณณมันตานีปุตตเถรคาถา

สพฺภิเรว สมาเสถ         ปณฺฑิเตหตฺถทสฺสิภิ

อตฺถํ มหนฺตํ คมฺภีรํ         ทุทฺทสํ นิปุณํ อณณ

ธีรา สมธิคจฺฉนฺติ          อปฺปมตฺตา วิจกฺขณาติ ฯ

อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา ปุณฺโณ มนฺตานิปุตฺโต เถโร คาถํ อภาสิตฺถ ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลควรสมาคมกับสัปบุรุษ ผู้เป็นบัณฑิตชี้แจงประโยชน์เท่านั้น เพราะธีรชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ย่อมได้บรรลุถึงประโยชน์อย่างใหญ่ ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง เห็นได้ยากละเอียด สุขุม.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ ปุณโณ ชื่อว่าปุณณะ มันตานิปุตฺโต ผู้เป็นบุตรแห่งนางมันตานี อายสฺมา ผู้มีอายุ อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติว่าดังนี้ ปุคฺคโล อันว่าบุคคล สมาเสถ พึงสมาคม สพฺภิเรว กับสัตบรุษทั้งหลาย ปณฺฑิเตหิ ผู้เป็นบัณฑิต อตฺถสสฺสีภิ ผู้ชี้แจงซึ่งประโยชน์ ธีรา อันว่านักปราชญ์ทั้งหลาย อปฺปมตฺตา  ผู้ไม่ประมาท วิจักขณา ผู้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญา สมธิคจฺฉนฺติ ย่อมบรรลุถึง อตฺถํ ซึ่งประโยชน์  มหนฺตํ อันใหญ่ คมฺภีรํ อันลึกซึ้ง ทุทฺทสํ อันเห็นได้ยาก นิปุณํ อันละเอียดอ่อน อณฺณํ อันสุขุม.

เถรคาถา_กังขาเรวตเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลโดยอรรถ คำแปลโดยพยัญชนะ #เถรคาถา

 

กังขาเรวตเถรคาถา

แปลโดยอรรถ

ปญฺญํ อิมํ ปสฺส ตถาคตานํ

อคฺคิ ยถา ปชฺชลิโต นิสีเว

อาโลกทา จกฺขุททา ภวนฺติ

เย อาคตานํ วินยนฺติ กงฺขนฺติ ฯ

อิตฺถํ สุทํ อายสฺมา กงฺขาเรวโต เถโร คาถํ อภาสิตฺถ ฯ

ได้ยินว่า ท่านพระกังขาเรวตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใด ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ให้แสงสว่างเป็นผู้ให้ดวงตา.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ กงฺขาเรวโต ชื่อว่ากังขาเรวตะ อายสฺมา ผู้มีอายุ อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติ ว่าดังนี้ อคฺคิ อันว่าไฟ ปชฺชลิโต ส่องสว่างแล้ว นิสีเว ในเวลาพลบค่ำ โหติ ย่อมเป็น ยถา โดยประการใด ตวํ อันว่าท่าน ปสฺส จงดู ปญฺญํ ซึ่งปัญญา อิมํ นี้ ตถาคตานํ ของพระตถาคตทั้งหลาย ตถา โดยประการนั้น เย ตถาคตา อันว่าพระตถาคตเหล่าใด วินยนฺติ ย่อมกำจัด กงฺขํ ซึ่งความสงสัย อาคตานํ ปุคฺคลานํ ของบุคคลทั้งหลาย ผู้มาแล้ว  เต ตถาคตา อันว่าพระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น อาโลกทา เป็นผู้ให้ซึ่งแสงสว่าง จกฺขุททา เป็นผู้ให้ดวงตา ภวนฺติ ย่อมเป็น ฯ