วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สัปดาห์ที่ 4 พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน


มื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนายังเจริญในอินเดียสืบมา ความเจริญของพุทธศาสนาขึ้นกับว่าได้รับการส่งเสริมจากผู้มีอำนาจในสมัยนั้น หรือไม่ ถ้ามีก็มีความรุ่งเรืองมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลากาลล่วงไป ความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกันได้เกิด ขึ้นในหมู่พระสงฆ์ จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป

 

การสังคายนาครั้งที่ 1

การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ พระอานนท์เป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระธรรม และพระอุบาลีเป็นผู้ให้คำตอบเกี่ยวกับพระวินัย มีพระอรหันต์เข้าร่วมในการสังคายนา 500 รูป กระทำ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ
 
การสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน ทำให้พระมหากัสสปะดำริจัดสังคายนาขึ้น ในการสังคายนาครั้งนี้ พระอานนท์ได้กล่าวถึงพุทธานุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุมตกลงกันไม่ได้ว่าสิกขาบทเล็กน้อยคืออะไร พระมหากัสสปะจึงให้คงไว้อย่างเดิม
เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว พระปุราณะพร้อมบริวาร 500 รูป จาริกมายังแคว้นราชคฤห์ ภิกษุที่เข้าร่วมสังคายนาได้แจ้งเรื่องสังคายนาให้พระปุราณะทราบ  พระปุราณะแสดงความเห็นคัดค้านเกี่ยวกับสิกขาบทบางข้อและยืนยันปฏิบัติตามเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นเค้าความแตกแยกในคณะสงฆ์[แต่ไม่ถือว่าเป็นสังฆเภท เนื่องจากพระปุราณะยึดถือตามพุทธานุญาตที่ทรงให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้

การสังคายนาครั้งที่ 2 : การแตกนิกาย

เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงไป 100 ปี ภิกษุชาววัชชีเมืองเวสาลี ได้ตั้งวัตถุ 10 ประการ ซึ่งผิดไปจากพระวินัย ทำให้มีทั้งภิกษุที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนเกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ พระยสกากัณฑบุตร ได้จาริกมาเมืองเวสาลี และทราบเรื่องนี้ ได้พยายามคัดค้าน แต่ภิกษุชาววัชชีไม่เชื่อฟัง ภิกษุที่สนับสนุนพระยสกากัณฑบุตรจึงนำเรื่องไปปรึกษาพระเถระผู้ใหญ่ในขณะ นั้นได้แก่ พระเรวตะ พระสัพกามีเถระ เป็นต้น จึงตกลงให้ทำการสังคายนาขึ้นอีกครั้ง

ภิกษุชาววัชชีไม่ยอมรับและไม่เข้าร่วมการสังคายนานี้ แต่ไปรวบรวมภิกษุฝ่ายตนประชุมทำสังคายนาต่างหาก เรียกว่า มหาสังคีติ และเรียกพวกของตนว่า มหาสังฆิกะ ทำให้พุทธศาสนาในขณะนั้นแตกเป็น 2 นิกาย คือ ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนาเรียก เถรวาท  ฝ่ายที่ถือตามมติของอาจารย์ของตนเรียก อาจาริยวาท

อีกราว 100 ปีต่อมา สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่ายมีการแตกนิกายออกไปอีก หลักฐานฝ่ายภาษาบาลีว่าแตกไป 18 นิกาย หลักฐานฝ่ายภาษาสันสกฤตว่า แตกไป 20 นิกาย ได้แก่


หลักฐานฝ่ายบาลี

เถรวาท แยกเป็น
1.นิกายมหิสาสกวาท แยกเป็น
1.1นิกายสัพพัตถิกวาท แยกเป็น
1.1.1 นิกายกัสสปิกวาท
1.1.2 นิกายสังกันติกวาท
1.1.3 นิกายสุตตวาท
1.1.4 นิกายธรรมคุตตวาท
2.นิกายวัชชีปุตวาท แยกเป็น
2.1 นิกายธัมมตตริกวาท
2.2 นิกายภัทรยานิกวาท
2.3 นิกายฉันนาคาริกวาท
2.3 นิกายสมิติยวาท
3. นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
3.1 นิกายเอกัพโยหาริกวาท แยกเป็น
3.1.1 นิกายพหุสสุติกวาท
3.1.2 นิกายปัญญัติกวาท
3.1.3 นิกายโคกุลิกวาท

3.1.4 นิกายเจติยวาท

 

หลักฐานฝ่ายสันสกฤต

1.เถรวาท แยกเป็น
1.1นิกายเหมวันตวาท
2.นิกายสรวาสติวาท แยกเป็น
3.นิกายมหิศาสกวาท แยกเป็น
3.1 นิกายธรรมคุปตวาท
3.2 นิกายกาศยปิกวาท
3.3 นิกายเสาตรันติกวาท
4.นิกายวาตสีปุตริยวาท แยกเป็น
4.1 นิกายศันนาคาริกวาท
4.2 นิกายสามมมีติยวาท
4.3 นิกายภัทรยานิยวาท
4.4 นิกายธรรโมตตริยวาท
5.นิกายมหาสังฆิกะ แยกเป็น
5.1 นิกายเอกวยหาริกวาท
5.2 นิกายโลโกตรวาท
5.3 นิกายโคกุลิกวาท
5.4 นิกายพหุศรติยวาท
5.5 นิกายปัญญัตวาท
5.6 นิกายไจติกวาท
5.7 นิกายอปรเสลิยวาท
5.8 นิกายอุตรเสลิยวาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น