วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

เถรคาถา_#ปิลินทวัจฉเถรคาถา ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลทั้งแปลโดยอรรถและแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

 

#ปิลินทวัจฉเถรคาถา

ประกอบด้วยภาษาบาลี คำแปลทั้งแปลโดยอรรถและแปลโดยยกศัพท์ #เถรคาถา

สฺวาคตํ นาปคตํ        นยิทํ ทุมฺมนฺติตํ มม

ปวิภตฺเตสุ ธมฺเมสุ      ยํ เสฏฺฐํ ตทุปาคมินฺติ ฯ

ปิลินฺทวจฺโฉ เถโร ฯ

แปลโดยอรรถ

ได้ยินว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่าจักฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วจักบวช เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุธรรมอันประเสริฐแล้ว.

แปลโดยยกศัพท์

สุทํ ได้ยินว่า เถโร อันว่าพระเถระ ปิลินฺทวจฺโฉ ชื่อว่าปิลินทวัจฉะ อายสฺมา ผู้มีอายุ  อภาสิตฺถ ได้กล่าวแล้ว คาถํ ซึ่งคาถา อิตฺถํ โดยประการฉะนี้ อิติว่าดังนี้ มยา อันเรา สฺวาคตํ มาดีแล้ว อาคมนํ อันว่าอันมา อปคตํ เป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โหติ ย่อมเป็น น หามิได้  อิทํ จินตนํ อันว่าอันคิดนี้ มม ของข้าพเจ้า ทุมมนฺติตํ เป็นความคิดที่ไร้ประโยชน์ โหติ ย่อมเป็น น หามิได้ ธมฺเมสุ ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลาย ปวิภตฺเตสุ อันอันพระผู้มีพระภาคจำแนกแล้ว อหํ อันว่าข้าพเจ้า อุปาคมึ เช้าถึง(บรรลุ) แล้ว ยํ  ตํ เสฏฐํ ธมฺมํ ซึ่งธรรมอันประเสริฐสุดใดนั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น